วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สัมนาย่อย เรื่อง Wireless Network

ในการสัมนาย่อย ครั้งนี้ วิทยากร เป็น เพื่อนร่วมชั้นเรียน ทำให้ มีบรรยากาศในการสัมนา
มีความเป็นกันเองมากยิ่งขึ้น
จากการสัมมนา วิทยากรได้พูดถึง ความเป็นมา , รูปแบบ , ลักษณะ ของ Wireless Network
รวมถึงการใช้งาน ต่างๆ

สัมนาย่อย เรื่อง ภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ต

ในการสัมนา ย่อยครั้งนี้ ได้รับ ความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ต ช่องทางการคุกคามที่มาจากอินเตอร์เน็ต
ผลที่ได้รับจากการตกเป็นเหยื่อ ข้อดี และ ข้อเสีย ของอินเตอร์เน็ต ลักษณะของการคุกคามจากอินเตอร์เน็ต
ความรู้ในด้านของกฏหมาย พระราชบัญญัติ ที่ ควบคุมเกี่ยวกับด้าน ไอที เช่น พระราชบัญญัติที่เอาผิด กับ
ผู้ที่คุกคาม เข้าถึง หรือการโจรกรรม ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในโลกอินเตอร์เน็ต
ทำให้ ผู้ที่เข้ารับการสัมนา ได้มีความเข้าใจมากยิ่งขั้น และ ได้รู้จักวิธีการป้องกันตัว จาก ภัยที่อาจเกิดขึ้นจากอินเตอร์เน็ต
และ จากความที่รู้เท่าไม่ถึงการ ที่อาจเกิดขึ้น จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเอง

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

การเขียนโปรแกรม GUI

การสัมนา เรื่อง การเขียนโปรแกรม GUI (Graphical User Interface)
วิทยากรได้นำเอาโปรแกรม LabView มาใช้ในการนำเสนอ
ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์แทนตัวอักษร ในการเขียนโปรแกรม
เหมือนโปรแกรมปรกติทั่วไป โดยใช้หลักการของ Data Flow มีลักษณะเหมือนกับ
การเขียน Block Diagram ทำให้ไม่ต้องจดจำรูปแบบคำสั่งที่ยุ่งยาก

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2551

สัมนาย่อย Network Security For SMEs

จากการเข้าร่วม สัมนา หัวข้อ Network Security For SMEs
โดยคุณ อภิเดช เตจ๊ะแก้ว

ได้มีการพูดถึง ระบบเครือข่าย ความปลอดภัย ในระบบเครือข่าย อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ปัญหาการรบกวนการทำงานต่างๆ การแพร่กระจาย
การทำลาย ต่างๆ ของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การป้องกัน
Firewall
การทำงานของไฟล์วอร์ ระดับของไฟล์วอร์ ความเหมาะสมของการใช้ไฟล์วอร์

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ซิป้าหวังแอนิเมชั่นไทย3ปีหมื่นล้าน

ซิป้าเดินหน้าส่งเสริมอุตสาหกรรมแอนิเมชั่น มัลติมีเดีย ของไทย หวังพัฒนาเทียบชั้นระดับโลก ขอเวลา 3 ปี มูลค่าตลาดรวมถึงระดับหมื่นล้าน พร้อมโชว์ไฮไลท์เด็ดในงาน ได้ผู้มีประสบการณ์ในวงการแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียทั่วโลกอย่าง Chris Lee โปรดิวเซอร์ Superman Returns พร้อมด้วย Stephen Regelous โปรแกรมเมอร์ด้าน CG ภาพยนตร์ The Lord of the Ring ทั้งสามภาค เข้าร่วมให้ความรู้ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ของไทย หวังพัฒนาเทียบชั้นฮอลลีวูดแห่งเอเชีย

นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA กล่าวว่า ถึงภาพรวมตลาดอุตสาหกรรมแอนิเมชั่น มัลติมีเดีย และดิจิตอล คอนเทนต์ ของไทยว่า ในปี 2549 อุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวประมาณ 15% คิดเป็นมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 5,000 ล้านบาท ในปี 2550 คาดว่าอัตราการเติบโตจะเป็นในทิศทางเดียวกัน โดยคาดว่าในปี 2551 ตลาดรวมน่าจะมีการเติบโตมากกว่า 20% ที่มูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท และคาดว่าจะมีการเติบโตเป็นระดับหมื่นล้านบาทได้ภายใน 3 ปีนับจากปีนี้เป็นต้นไป

ส่วนตลาดรวมซอฟต์แวร์ในปี 2550 คาดว่า จะมีการเติบโตประมาณ 18% หรือมีมูลค่ารวมมากว่า 50,000 ล้านบาท

ในมุมมองธีรวิทย์เห็นว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นให้ขยายตัวและเติบโตในตลาดได้ต้องได้รับความร่วมมือกันหลายฝ่าย โดยเฉพาะภาครัฐต้องให้การส่งเสริมอย่างจริงจัง เริ่มจากการศึกษาที่ต้องมีการพัฒนาหลักสูตรให้ตอบรับกับความต้องการของตลาด กำหนดแนวทางที่ชัดเจนเมื่อเด็กที่จบออกมาแล้วต้องมีงานรองรับ ต้องมีการกองทุนเพื่อให้การส่งเสริมภาคเอกชนที่อยู่ในธุรกิจ โดยยกตัวอย่างของประเทศเกาหลีที่ให้ทุนส่งเสริมเอกชนเป็นเงินทุนมากกว่า 100 ล้านบาทในแต่ละบริษัทเมื่อเห็นแนวทางว่าบริษัทนั้นมีอนาคต



"เมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้วคนไทยมีความสามารถ จึงอยู่ที่ว่าจะสร้างโอกาสได้อย่างไร การส่งเสริมจากภาครัฐต้องมีหลักการ มีเงินทุน เห็นความสำคัญกับการตลาด และที่สำคัญบุคคลากรต้องได้รับการพัฒนาส่งเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การส่งเสริมอย่างจริงจังต้องได้ความร่วมมือกันหลายฝ่ายมิใช้ซิป้าเป็นผู้มีบทบาทอยู่เพียงผู้เดียว"

ส่วนหนึ่งของการส่งเสริมอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นของไทยคือการจัดงานThailand Animation and Multimedia หรือ TAM 2007 ขึ้นในวันที่ 16-20 พ.ย. 2550 นี้ ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยในปีนี้ TAM 2007 อยู่บนแนวคิด “Global Opportunities for Digital Entertainment” โดยไฮไลท์ที่น่าสนใจในปีนี้ คือ เวทีสัมมนาทางวิชาการที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในอุตสาหกรรมแอนิเมชั่น มัลติมีเดีย และ Digital

Content จากทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 30 ราย มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ประกอบการไทย ซึ่งมี Keynote Speaker ที่น่าสนใจจากต่างประเทศกว่า 10 ราย เช่น Mr.Stephen Regelous ผู้ก่อตั้ง บริษัท Massive Software ซึ่งเคยเป็นโปรแกรมเมอร์ด้าน CG ให้กับ The Lord of the Ring ทั้งสามภาค และเขียนโปรแกรม Massive ที่จำลองกองทัพของทหารให้มีจำนวนมหาศาลได้ในภาพยนตร์หลายเรื่อง ซึ่งปัจจุบันเตรียมเปิดบริษัทผลิตแอนิเมชั่น และมัลติมีเดียขึ้นในประเทศไทยในเร็วๆ นี้ หลังจากที่เล็งเห็นถึงศักยภาพฝีไม้ลายมือการทำ CG ของผู้ประกอบการและประเทศไทย ที่สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับโลกได้

“การสนใจลงทุนในประเทศไทยของสตีเฟ่น นับเป็นสัญญาณที่ดีที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมแอนิเมชั่น มัลติมีเดีย และ Digital Content ของไทยได้รับการพัฒนาอย่างมีระบบและประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อว่าภายใน 3 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวสู่ผู้นำในการผลิตผลงานแอนิเมชั่น มัลติมีเดีย และ Digital Content ในภูมิภาคนี้ หรือเป็นฮอลลีวูดเอเชียอย่างแน่นอน”

นอกจากนี้ ยังมี Mr. Chris Lee โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ชื่อดังที่ได้รับรางวัลหลายเรื่องของฮอลลีวู้ด เช่น Jerry Maguire, Philadelphia และ As Good As It Gets และยังเคยร่วมสร้างภาพยนตร์ยอดฮิตอีกหลายเรื่อง เช่น Superman Returns ,My Best Friend’s Wedding, The Mask of Zorro, Godzilla และ S.W.A.T. พร้อมกันนี้ คริส ลี ยังเคยร่วมกับผู้กำกับโจเซฟ คาห์น ผลิตมิวสิควิดีโอให้ศิลปินหลายราย เช่น Janet Jackson, The Backstreet Boys, Elton John และ Destiny’s Child เป็นต้น

ในส่วนของการพบปะเจรจาทางธุรกิจซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของงานในปี 2007 นี้ ที่มุ่งพัฒนาและยกระดับการจัดงานให้เกิดการเจรจาทางธุรกิจมากขึ้นนั้นได้รับความสนใจจาก International Buyers ที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมงานจำนวน 24 ราย จาก 10 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ ซึ่งประเทศที่เพิ่มเข้ามาจากปีที่ผ่านมาคือ ฝรั่งเศส อิตาลี และดูไบ ในส่วนของผู้ขาย (Sellers) มีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมกว่า 50 ราย โดย SIPA คาดว่า การพบปะเจรจาทางธุรกิจใน TAM 2007 นี้จะมีการพบปะเจรจาในลักษณะคู่ค้าทางธุรกิจเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 200 นัด และเกิดการค้าการลงทุนร่วมกันคิดเป็นมูลค่าพุ่งสูงกว่า 200 ล้านบาท ภายในช่วง 6 เดือนหลังจากการจัดงาน TAM

สำหรับ International Pavilion ในงาน TAM ปีนี้ได้รับความร่วมมือจากจากประเทศญี่ปุ่นที่นับว่าเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและแอนิเมชั่น โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตผลงานแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียอย่าง บริษัท TV Tokyo และอีกกว่า 30 บริษัทมาร่วมงาน เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 120 ปี ซึ่งในวันที่ 18 พ.ย.นี้ก็จะมีการประกวดแต่งกายเลียนแบบการ์ตูนญี่ปุ่น (Cosplay) ด้วย

“จากการจัดงาน TAM ทั้ง 3 ปีที่ผ่านมา ได้ผลักดันให้อุตสาหกรรมแอนิเมชั่น มัลติมีเดีย และ Digital Content ของประเทศไทยมีการพัฒนาไปอย่างมีระบบและประสิทธิภาพ โดยมีบริษัทเกิดขึ้นมากมาย และมีผลงานของคนไทยได้รับการยอมรับ มีบริษัทต่างชาติเข้ามาร่วมทุน หรือว่าจ้างผลิตผลงานเพิ่มขึ้น ซึ่งได้เติบโตทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมตามเป้าหมายที่ SIPA ต้องการสนับสนุนให้มีการเติบโตและขยายตัวปีละไม่ต่ำกว่า 50% หรือการเพิ่มมูลค่าส่งออกให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้มีบริษัทรับจ้างผลิตผลงานส่งออกแล้วกว่า 30 บริษัท จากเดิมมีไม่ถึง10 บริษัท”

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

23 โปรแกรมลับใน XP

คุณรู้ไหมครับ ว่า Windows XP มีโปรแกรมซ่อนอยู่ตั้ง 23 โปรแกรม ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักมันมาจากการที่จำเป็นต้องใช้มันนั้น เราจะไม่มีทางได้ใช้มันเลย เพราะบางโปรแกรม มันไม่อยู่ใน StartMenu ให้เรากด บางโปรแกรมถึงติดตั้งมาโดยที่เอาออกไม่ได้ บางโปรแกรมเป็นโปรแกรมที่มาจากวินโดว์รุ่นก่อน (ทั้งๆที่ XP ก็มีโปรแกรมนั้นแล้ว) มาดูกันว่า 23 โปรแกรมนั้นมีอะไรบ้าง
วิธีการใช้ก็เข้าที่ Start -> Run -> พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้

charmap.exe = Character Map (มีประโยชน์มากสำหรับใช้พิมพ์อักขระพิเศษ)
cleanmgr.exe = Disk Cleanup (เอาไว้ทำความสะอาดหรือ Clear พื้นที่)
clipbrd.exe = Clipboard Viewer (ดูข้อมูล ในคลิปบอร์ด)
drwtsn32.exe = Dr Watson (โปรแกรมที่ใช้ตัวสอบว่าวินโดว์มีปั*หาเพราะอะไร)
dxdiag.exe = DirectX diagnosis (โปรแกรมตรวจสอบอุปกรณ์ว่า สนับสนุน DirectX หรือไม่ และแสดงรายชื่อไฟล์ที่เกี่ยวข้อง)
eudcedit.exe = Private character editor (โปรแกรมที่อนุ*าตให้เราแก้ไขฟอนต์ หรือทำฟอนต์เองได้)
iexpress.exe = IExpress Wizard (โปรแกรมที่สร้างไฟล์ Setup ของวินโดว์ เอาไว้สำหรับคนที่เขียนโปรแกรมบนวินโดว์)
mobsync.exe = Microsoft Synchronization Manager (โปรแกรมที่คอยเก็บหน้าเว็บ หรือไฟล์บนเครือข่าย เอาไว้ดูตอน offline ได้)
mplay32.exe = Windows Media Player 5.1 (โอ้ Windows Media Player รุ่นคุณปู่)
odbcad32.exe = ODBC Data Source Administrator (โปรแกรมไว้จัดการกับดาต้าเบต)
packager.exe = Object Packager (โปรแกรมที่ใส่พวก Objects ต่างๆ ลงในไฟล์)
perfmon.exe = System Monitor (โปรแกรมนี้ มีประโยชน์มาก ไว้ตัวสอบประสิทธิภาพของวินโดว์)
progman.exe = Program Manager (เชลล์ไฟล์ของวินโดว์ 3.11)
rasphone.exe = Remote Access phone book (โปรแกรมที่เอาไว้ ติดต่อหรือเข้าถึงข้อมูลของสมุดที่อยู่ ในเครื่องอื่น)
regedt32.exe = Registry Editor [เหมือนกับ regedit.exe] (ไว้ใช้สำหรับแก้ไข Registry ของวินโดว์)
shrpubw.exe = Network shared folder wizard (สร้างแชร์โฟดเดอร์บนเครือข่าย)
sigverif.exe = File siganture verification tool (โปรแกรมตรวจสอบ signature ของไฟล์)
sndvol32.exe = Volume Contro (โปรแกรมไว้ปรับระดับเสียงไง อันเดียวกับรูปลำโพงตรง tray icon)
sysedit.exe = System Configuration Editor (โปรแกรมแก้ไข system.ini กะ win.ini)
syskey.exe = Syskey (Secures XP Account database – เป็นโปรแกรมที่ใช้ เข้ารหัส รหัสผ่านของวินโดว์ กรุณาใช้อย่างระมัดระวัง)
telnet.exe = Microsoft Telnet Client (โปรแกรม telnet)
verifier.exe = Driver Verifier Manager (โปรแกรมตรวจสอบ driver ต่างของวินโดว์ ใช้สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องไดร์เวอร์)
winchat.exe = Windows for Workgroups Chat (โปรแกรม chat รุ่นคุณปู่)

รู้ไหมว่าสตอเรจที่ใช้อยู่ ขณะนี้ รักษา สิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การตื่นตัวของสาธารณชน ในเรื่องสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ยังถือว่ามีน้อยมาก แม้ว่านักการเมือง และกลุ่มรณรงค์ทั้งหลายจะอภิปรายในเรื่อง สภาวะโลกร้อน (Global Warming) ดูเหมือนว่าในโลกธุรกิจและสังคมวงกว้างกลับมองว่าสิ่งนี้เป็นภัยคุกคามเร่งด่วน สาเหตุที่คนเริ่มหันมาสนใจปัญหาภาวะโลกร้อนนั้น เนื่องจากการละลายของภูเขาน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ และขนาดพื้นที่ของทะเลสาบต่างๆที่เล็กลง เป็นตัวแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากกิจกรรมที่มนุษย์ทำร้ายสภาพแวดล้อม

ขณะที่ ผู้คนจำนวนมากกำลังกังวลกับอนาคตของโลกมากขึ้นเรื่อยๆ



และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้กลายเป็นเรื่องสำคัญที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับรัฐบาลหลายประเทศ ภาคอุตสาหกรรม และชุมชนต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก เช่นเดียวกันกับที่มีกฎระเบียบใหม่ๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ควบคู่กับความกังวลของสาธารณชนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้องค์กรต่างๆกำลังเผชิญความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้อง และอาจจะทำให้ชื่อเสียงของบริษัท หรือองค์การเหล่านั้นเสียหายได้ หากไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

นายทวีศักดิ์ แสงทอง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ หรือ HDS อธิบายว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น ในประเทศสิงคโปร์ ได้มีการออกข้อบังคับควบคุมอาคารที่กำหนดว่า ผนังด้านนอกของอาคารพาณิชย์ทั้งหมดที่ใช้เครื่องปรับอากาศ จะต้องออกแบบให้ค่าการถ่ายเทความร้อนรวม ไม่เกินตามที่กำหนดไว้ นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์ยังออกมาตรการจูงใจทางภาษี เพื่อสนับสนุนให้เจ้าของอุตสาหกรรม พาณิชย์ และการค้าใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน ตลอดจนใช้อุปกรณ์ที่ควบคุมมลพิษที่มีประสิทธิภาพสูง ขณะที่ทุกฝ่ายกำลังช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการใช้พลังงานไฟฟ้า ทว่ากลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมกลับเป็นตัวการใหญ่ที่สร้างปัญหานี้ เนื่องจากศูนย์ข้อมูล หรือ ดาต้า เซ็นเตอร์ มักจะใช้พลังงานมหาศาล ทำให้กลายเป็นจำเลยรายใหญ่

ผจก.ประจำประเทศไทย บ.เอชดีเอส อธิบายต่อว่า เพราะเมื่อมาพิจารณาปริมาณไฟฟ้าโดยเฉลี่ยที่ศูนย์ข้อมูลใช้ จากการสำรวจของ นิตยสารคอมพิวเตอร์เวิล์ด สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือน เม.ย.2549 พบว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ของศูนย์ข้อมูลกินไฟ 3 เมกะวัตต์ การสูญเสียของระบบจ่ายไฟ ระบบปรับอากาศ และแสงสว่างอีก 3 เมกะวัตต์ ความต้องการไฟฟ้าทั้งหมดอีก 6 เมกะวัตต์ คิดเป็นต้นทุนต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงอยู่ที่ 0.06 เหรียญสหรัฐ ค่าไฟฟ้าที่ใช้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงจะอยู่ที่ 3.15 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อระบบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 10% จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อปีถึง 315,000 เหรียญสหรัฐ
นายทวีศักดิ์ อธิบายถึงการที่ดาต้าเซ็นเตอร์ถูกมองในแง่ลบเรื่องประหยัดพลังงานว่า มาจากสาเหตุหลัก 3 ประการ ตามบทความ “2006 Data Center Polling Results: Power and Cooling ก.พ.2550 ของนายไมเคิล เอ เบลล์ บริษัท การ์ทเนอร์ ระบุว่า

1.ตัวเซิร์ฟเวอร์ บริษัท ฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ท คาดว่าศูนย์ข้อมูลที่มีเซิร์ฟเวอร์ 2,500 เครื่อง จะใช้ไฟฟ้าเท่ากับตามบ้านคนทั่วไปกว่า 420,000 หลังคาเรือนต่อปี
2.สตอเรจ ทางไอดีซีประเมินว่า การใช้ไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูลทั้งหมด 37% เป็นของสตอเรจ ปัญหามาจากรการใช้ประโยชน์สตอเรจแบบไม่มีประสิทธิภาพ เพราะปกติจะมีการใช้งานโดยเฉลี่ยเพียง 45% ขณะที่ระบบเมนเฟรมเดิมสามารถใช้งานได้มากถึง 85% และสุดท้ายคือ
3.ระบบทำความเย็น บ.การ์ทเนอร์ ระบุว่าระบบปรับอากาศเดิมนั้นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 60% แต่ขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 100% โดยทุกวัตต์ของเครื่องปรับอากาศใช้พลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 1-1.5 วัตต์

ผจก.ประจำประเทศไทย บ.เอชดีเอส อธิบายอีกว่า ความจริงที่เกิดขึ้น คือ องค์กรจำนวนไม่น้อยยังคงสร้างและจัดการกับข้อมูลสำคัญทางธุรกิจที่มีจำนวนมากขึ้นกว่าที่เคย เมื่อมีข้อมูลมากก็ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น ทำให้เป็นภาระด้านพลังงาน ที่ไม่ใช่แค่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่เป็นวิกฤตแก่องค์กรด้วย ดังนั้น ทั้งหมดนี้จึงสร้างแรงกดดันต่อชุมชนธุรกิจที่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ขณะที่การดำเนินการด้านไอทีก็มีผลต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

นายทวีศักดิ์ อธิบายเสริมว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารงานสารสนเทศขององค์กร ต้องเข้าใจเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการใช้ไฟฟ้าที่มักถูกซ่อนอยู่ภายในต้นทุนการดำเนินงานทั้งหมด และยากที่จะประเมินการใช้ไฟฟ้าที่แท้จริง ก่อนหน้าที่ซีไอโอจะให้ความสำคัญกับการปรับขนาด และประสิทธิภาพ ขณะที่ต้องพิจารณาพื้นที่จัดวางและขนาดพื้นที่จัดเก็บ แต่ในขณะนี้ เริ่มให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพของซีพียูบนเซิร์ฟเซอร์ แต่ก็แก้ไขได้แค่บางส่วน

“เพราะความจริงตัวสตอเรจต่างหาก ที่เป็นตัวก่อปัญหาและยังใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก ดังนั้นผู้บริหารด้านไอทีต้องหาวิธีรวมระบบเป็รนหนึ่งเดียว ลดจำนวนข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ และลดการใช้ไฟฟ้า เช่น การทำระบบเสมือนจริง หรือ เวอร์ชวลไลเซชัน การลดจำนวนข้อมูลที่จัดเก็บในดิสก์ และการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บให้มีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับตัวผู้ผลิตอุปกรณ์สตอเรจ ที่ต้องเข้าในผลกระทบด้าสนสิ่งแวดล้อม เพราะกระบวนการผลิตก็มีผลด้วยเช่นกัน วัตถุดิบอะไรที่นำมาใช้ ควบคุมซัพพลายเชนได้ดีแค่ไหน มีการจัดส่งสินค้าไกลแค่ไหน และมีแผนกำจัดหรือรีไซเคิลอะไรบ้าง” ผจก.ประจำประเทศไทย บ.เอชดีเอส กล่าว
นายทวีศักดิ์ อธิบายถึงขั้นตอนปฏิบัติที่นำมาใช้จัดการปัญหาเหล่านี้ว่า 1.ผู้ประกอบการต้องใช้ประโยชน์จากสตอเรจที่มีอยู่ให้มากที่สุด การเพิ่มความจุของดิสก์บนสตอเรจ จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพ และลดการใช้พลังงานของระบบทำความเย็นได้ 2.มองหาโซลูชั่นสตอเรจที่ใช้พลังงานต่ำ และปล่อยความร้อนออกมาน้อย ตามข้อมกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการสร้างและรีไซเคิล 3.ลดปริมาณข้อมูลที่ใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง สตอเรจที่มีประสิทธิภาพสูงไม่ใช่แค่ราคาแพง แต่ยังใช้พลังงานมาก การเปลี่ยนไปใช้เครื่องมืออื่น เช่น เทป หรือ การลดจำนวนข้อมูลบีบอัดในดิสก์ จะช่วยให้องค์กรสามารถลดปริมาณข้อมูลที่ต้องจัดเก็บได้ และ 4.ควรมองหาเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น และ Thin Provisioning เพื่อรวบรวมข้อมูลจำนวนมากเป็นก้อนเดียวกัน โดยจะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดค่าใหม่ให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากระบบทำความเย็นที่สมดุลขึ้น


ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องร่วมการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน ในฝั่งของเทคโนโลยีไอที ที่ทุกองค์กรต้องหันมาตระหนัก และให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะเชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้โจทย์เรื่องการลดการใช้พลังงาน จะเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับทุกองค์กร เพื่อลดต้นทุน รวมทั้งเชื่อว่าในอนาคตจะกลายเป็นระเบียบที่ ทุกองค์กรต้องปฏิบัติ หรืออาจมีมาตรการทางกฎหมายมาจัดการ การเตรียมพร้อมกับระบบสตอเรจแม้อาจใช้งบที่สูง แต่ถ้าจัดการอย่างเหมาะสม ก็ย่อมช่วยประหยัดเงินค่าไฟ

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีที่ 58 ฉบับที่ 18178 วันจันทร์ ที่ 29 ตุลาคม 2550